กลิ่นปาก ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

กลิ่นปาก

ปัญหาเรื่อง “กลิ่นปาก” ปัญหาสำคัญที่ทำลายความมั่นใจของใครหลายคน และส่งผลกระทบกับคนรอบข้าง กลิ่นที่เหม็นจากปากเกิดจากแบคทีเรียของการย่อยเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ตามส่วนต่างๆ ของช่องปาก ทำให้เกิดการเน่าเสียของเศษอาหาร ส่งผลทำให้เกิดกลิ่นเหม็นขึ้น แบคทีเรียนี้จะมีอยู่ตามช่องปาก

บริเวณใดที่มีเศษอาหารตกค้าง แบคทีเรียก็จะทำให้เกิดการเน่าบูด และส่งกลิ่นเหม็นได้ บริเวณที่มักจะพบการสะสมของเศษอาหาร คือ ลิ้น ร่องเหงือก ใต้ขอบเหงือก บริเวณที่อุดฟัน ครอบฟัน การเป็นโรคปริทันต์ เหงือกอักเสบ มีฝันผุ ฟันปลอดแบบถอดได้ ทำให้เกิดการตกค้างของเศษอาหาร จึงเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก โดยเฉพาะในผู้ที่ใส่ฟันปลอม หรือการใส่รีเทนเนอร์ขณะนอนหลับ นอกจากนี้ปริมาณการหลั่งของน้ำลายมากหรือน้อยเกินไปก็ส่งผลต่อการเกิดกลิ่นปากได้เช่นกัน

กลิ่นปากเกิดจากอะไร

สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก

สามารถเกิดได้ทั้งจากภายใน และภายนอกช่องปาก ดังนี้ [คลิกอ่านตามหัวข้อ]

กลิ่นปาก มาจากไหน
กลิ่นภายในช่องปาก

A title

Image Box text

กลิ่นภายในช่องปาก
กลิ่นปากภายนอก

A title

Image Box text

กลิ่นภายนอกช่องปาก

กลิ่นภายในช่องปาก

ปัญหาภายในช่องปาก สาเหตุของการเกิด ฟันผุ โรคปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบ น้ำลาย ผู้ที่ใส่ฟันปลอม โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

ฟันผุ

ฟันผุ

เกิดจากเศษอาหารตกค้างอยู่ในรูฟันผุ ฟันผุที่ทะลุโพรงประสาทฟัน และมีหนองเกิดขึ้นที่ปลายรากฟัน

โรคเหงือกอักเสบ

เป็นโรคปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบ

เกิดจากการมีคราบจุลินทรีย์ และหินน้ำลายสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก

แผลภายในปาก

แผลในช่องปาก

เช่น เนื้องอก แผลร้อนใน แผลที่เกิดขึ้นภายหลังจากการถอนฟัน หรือแผลที่เกิดจากการผ่าตัดในช่องปาก

เครื่องมือจัดฟัน

เครื่องมือจัดฟัน ใส่ฟันปลอม

ผู้ที่ใส่ฟันปลอม หรือเครื่องมือต่างๆ ในช่องปาก เช่น ใส่เครื่องมือจัดฟัน หรือใส่เครื่องมือกันฟันล้ม และรักษาความสะอาดไม่ดี

น้ำลายภายในปาก

น้ำลาย

โดยปกติแล้วน้ำลายจะช่วยชะล้างสิ่งสกปรกออก ถ้าในช่องปากมีน้ำลายมาก ช่องปากก็จะสะอาดกว่าคนที่มีน้ำลายน้อย และน้ำลายจะช่วยลดการบูดเน่าของอาหารที่ทำให้เกิดกลิ่นได้

โคนลิ้นด้านใน

บริเวณโคนลิ้นด้านใน

เนื่องจากบริเวณนี้จะมีน้ำเมือกในช่องจมูกไหลลงคอ ซึ่งภาวะนี้ไม่จำเป็นต้องมีการเจ็บป่วยด้วยโรค แต่จะมีสาเหตุมาจากอาการภูมิแพ้ อาการนี้จะไม่ทำให้เกิดกลิ่นปากในระยะแรก ๆ แต่เมื่อผ่านไป 2-3 วัน แบคทีเรียในช่องปากจะย่อยน้ำเมือก ทำให้เกิดกลิ่นได้

กลิ่นภายนอกช่องปาก

อาหารไม่ดีต่อสุขภาพฟัน

การรับประทานอาหาร

เช่น หัวหอม กระเทียม เครื่องเทศ ผักที่มีกลิ่น และแอลกฮอล์ จะทำให้มีกลิ่นปาก แต่โดยธรรมชาติแล้วอาหารที่รับประทานเข้าไปจะถูกย่อย ดูดซึม และขับถ่ายออก แล้วกลิ่นก็จะหายไปเอง

การสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่

นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้ว ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้สูบเป็นโรคปริทันต์รุนแรงมากขึ้น และกลิ่นของบุหรี่ที่ตกค้างอยู่ในช่องปาก เมื่อผสมกับกลิ่นอื่น ๆ ก็ส่งผลทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเฉพาะตัว

นอกจาก 2 ข้อที่กล่าวมายังมีโรคที่ก็ให้เกิดกลิ่นปากได้อีก คือ โรคในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไซนัสอักเสบ ทอนซิลอักเสบ มะเร็งที่โพรงกระดูก และโรคในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โรคปอดเรื้อรัง วัณโรคปอดหรือมะเร็งปอด โรคของระบบขับถ่าย เป็นต้น

การแก้ปัญหากลิ่นปาก โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่จะคิดว่าการใช้น้ำยาบ้วนปาก อมลูกอม สเปรย์ดับกลิ่นปาก จะสามารถช่วยลดกลิ่นปากได้ แต่แท้จริงแล้วสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ไม่สามารถทำให้กลิ่นปากหายไปได้ ทางที่ดีแล้วเราควรหาสาเหตุว่ากลิ่นปากเกิดจากอะไร หรือควรไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก

นอกจากนี้เรายังสามารถดูแลรักษาไม่ให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในช่องปากได้ง่ายๆ ด้วยการดูแลช่องปากให้สะอาด โดยการแปรงฟันให้สะอาดอยู่เสมอ แต่ต้องแปรงให้ถูกวิธีด้วยนะคะ ไม่อย่างนั้นจะมีผลตามมา เช่น เหงือกอักเสบ เป็นต้น และที่สำคัญที่สุดควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้เกิดอาการปากแห้ง

5 เคล็ดลับสำหรับวิธีระงับกลิ่นปาก

  • 1. แปรงฟัน / บ้วนปากหลังกินอาหาร หากเราเป็นคนที่มีกลิ่นปากก็ควรจะแปรงฟันหลังอาหารหรือบ้วนปากหลังอาหารทุกมื้อ เพื่อเป็นการลดแบคทีเรียที่จะเข้าไปสะสมในช่องปาก และทำให้เราเกิดกลิ่นปากได้

  • 2. รักษาฟันผุ และแผลในช่องปาก เมื่อฟันผุหรือเกิดแผลในช่องปากนั้น ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มีกลิ่นปาก เพราะฉะนั้นควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา รวมถึงการขูดหินปูน การแปรงลิ้นให้สะอาดก็เป็นวิธีรักษากลิ่นปากอีกวิธีเช่นกัน

  • 3. ดื่มน้ำให้มากขึ้น และบ่อยขึ้นจะช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย ที่สะสมในช่องปาก และลิ้นได้ ทำให้กลิ่นปากลดลงได้

  • 4. กินอาหารที่มีเส้นใย ผัก และผลไม้มีเส้นใยเยอะ สามารถช่วยให้ร่างกายระบายของเสียที่สะสมออกมาได้ง่าย และช่วยลดกลิ่นเหม็นที่เกิดมาจากในร่างกายได้ นอกจากนี้การเลือกกินอาหารบางชนิดหลังมื้ออาหารก็เป็นการช่วยลดกลิ่นปากได้เช่นกัน

  • 5. เลิกสูบบุหรี่ กลิ่นจากบุหรี่จะเข้าไปตกค้างในช่องปากและฟัน ทำให้มีกลิ่นปาก นอกจากนี้บุหรี่ยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดหินปูนในช่องปาก ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปากอีกด้วย การลดการสูบบุหรี่หรือเลิกสูบบุหรี่ไปเลยก็เป็นการช่วยลดกลิ่นปากได้และช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้นได้อีกด้วย

สรุป

การแก้ไขปัญหากลิ่นปาก การปรับพฤติกรรมให้เกิดสุขภาพที่ดีในช่องปาก คือ อย่าปล่อยให้ปากแห้ง การดื่มน้ำจะช่วยขจัดแบคทีเรียในช่องปาก ช่วยขจัดคราบบนลิ้น เสมหะในลำคอ เศษอาหารที่ติดอยู่ตามร่อง และทำให้มีน้ำลายเพิ่มขึ้น

ดังนั้น จึงควรแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในช่องปากให้เหมาะสม แต่ถ้าหากยังมีกลิ่นปากอย่างเรื้อรัง เราขอแนะนำให้ไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจเช็คสุขภาพช่องปาก การดูแลอนามัยภายในช่องปาก รวมไปถึงเรื่องของโรคประจำตัว เพื่อหาสาเหตุต่อไปค่ะ

โปรโมชั่นจัดฟัน

สนใจทำการนัดหมายกับ คลินิกทันตกรรมสไมล์ ซิกเนเจอร์ ทุกสาขา ได้ที่ smilesignature@hotmail.com หรือ contact@smilesignature.com เบอร์โทรศัพท์ 083-095-0218 หรือ แต่ละสาขาที่นี่ (คลิก)

ติดต่อเรา สไมล์ ซิกเนเจอร์ สำนักงานใหญ่ (รัชดาภิเษก)

คลินิกทันตกรรม สไมล์ ซิกเนเจอร์ รัชดาภิเษก
เลขที่ 257/26, 257/27 โครงการ The Wiz Ratchada
ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพ 10400
(ใกล้กับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีรัชดาภิเษก ทางออกที่ 1)

มือถือ : 083 095 0218
โทรศัพท์ : 02 693 6933, 02 693 7822

Line ID : @smilesignature

ปรึกษาจัดฟัน

คลินิกทันตกรรม สไมล์ ซิกเนเจอร์
ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ

คลิกดูสาขาทั้งหมด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาข้อมูลการบริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน

Save