ฟันคุด คืออะไร
ฟันคุด คือ ฟันซี่สุดท้ายที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ อาจจะมีกระดูก เหงือกมาปิดบังหรือกรีดขวางการขึ้น โดยฟันคุดมักจะพบที่ตำแหน่งฟันกรามซี่ในสุดท้าย หรือบางครั้งเกิดบริเวณตำแหน่งของฟันเขี้ยว บางคนปล่อยทิ้งไว้โดยไม่เคย X-RAY ภาพใหญ่ ก็จะไม่เห็นว่าเรามีฟันคุดซ้อนอยู่ในลักษณะไหน เช่น ฟันเอียงข้างใดข้างหนึ่ง ฟันเอียงไปชนกับฟันซี่ข้างหน้า ฟันตั้งตรง หรือฟันนอนราบ
ลักษณะดังกล่าวอาจจะสร้างอาการปวดและสร้างความรำคาญอยู่ตลอดเวลา ถ้าฟันคุดจะพยายามขึ้นเองแต่ไม่สามารถขึ้นเองได้ หากไม่ตัดสินใจผ่าฟันคุดออก อาจเกิดปัญหาและเป็นอันตรายได้ในอนาคต
ฟันคุดเราควรจะตรวจเช็คในช่วงอายุ 15-20 ปี เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจประเมินร่วมกับการเอกซเรย์ ว่ามีฟันกรามซี่สุดท้ายพัฒนาขึ้นในขากรรไกรหรือไม่ และมีแนวโน้มจะเป็นฟันคุดจะสามารถขึ้นตั้งตรงมาได้ หรือมีกระดูก หรือแนวฟันจะสามารถขึ้นเองโดยไม่ต้องผ่าออก จากภาพในการถ่าย X-RAY จะบอกได้ถึงปัจจัย และความเสี่ยงในการที่มีฟันคุดอยู่ แนะนำให้เอาฟันคุดออก เพื่ออนาคตฟันคุดซี่นี้จะไม่ทำให้เรามีปัญหาตามมาภายหลัง
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : ศัลยกรรมช่องปาก ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ปลูกถ่ายกระดูก (คลิก)
ข้อเสียของการมีฟันคุด
- มีอาการปวดฟัน เนื่องจากฟันคุดดันฟันขึ้น
- ฟันเกฟันล้ม หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลาย จากการดันตัวของฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมา
- เกิดความผิดปกติของเนื้อเยื้อ
- อาจจะก่อให้เกิดซีสต์ และเนื้องอกบริเวณรอบ ๆ ฟันคุด
- จะเกิดฟันผุ หรือ เหงือกอักเสบ ได้ง่ายถ้ามีเศษอาหารติดที่ซอกฟันเพราะตำแหน่งตรงนี้การแปรงฟันอาจจะไม่ทั่วถึง
เลือกถอนฟันคุดแทนการผ่าฟันคุดได้ไหม
ขึ้นอยู่กับการประเมินของทันตแพทย์ แนะนำให้มีการถ่าย X-RAY ร่วมกับการวางแผน หากทันตแพทย์ประเมินว่าฟันคุดโผล่ออกมามากพอที่จะสามารถถอนแบบธรรมดาได้ การถอนฟันคุดก็จะเจ็บและระบมน้อยกว่าการผ่าฟันคุด แต่ถ้าฟันยังขึ้นไม่สมบูรณ์เอียงหรือฟันยังฝังอยู่ในกระดูกลักษณะแบบนี้ ก็จะต้องเป็นวิธีการผ่าฟันคุด ไม่ว่าจะถอนฟันคุดหรือผ่าฟันคุดจะทำภายใต้ยาชา
ขั้นตอนการผ่าฟันคุด
- ทันตแพทย์จะทำการเอกเรย์ช่องปากก่อน เพื่อจะได้วางแผนตำแหน่งของการเอาฟันออก
- ผู้ช่วยทันตแพทย์จะเตรียมชุดในการใช้ใน ผ่าตัดและและทันตแพทย์ จะทำการใส่ยาชา และรอจนยาออกฤทธิ์
- ขั้นตอนการผ่าตัด การผ่าตัดเปิดเหงือก การถอนฟันคุดออก การเย็บปิดปากแผลระยะเวลาใช้ในการผ่าขึ้นกับความยากง่ายไม่เกิน 1 ชั่วโมงโดยประมาณ
- ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการผ่าฟันคุดและการทานยา
ฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม ??
ฟันคุด เป็นฟันที่จะสร้างปัญหาให้เราอาจจะยังไม่ใช่ตอนนี้ และถ้าปล่อยไว้ก็จะมีการอักเสบ หรือฟันคุดพยายามจะดันฟันแท้ ทำให้เราเกิดความเจ็บปวด และอาจส่งผลกระทบต่อฟันซี่ข้างเคียงอาจจะทำให้ฟันผุ หรือบางท่านเคยปวด เคยบวม หรือทานยาจนหายแล้วปล่อยทิ้งไว้นานจะเกิดการติดเชื้อและมีถุงหนองถุงน้ำขึ้นมาจากบริเวณฟันคุด แต่ถ้าฟันคุดขึ้นมาเต็มซี่เคสนี้จะเป็นการถอนฟันคุดธรรมดา
การผ่าฟันคุดจำเป็น ต้องใช้ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยศาสตร์ช่องปาก ที่จบสาขาโดยตรงเกี่ยวกับการถอนฟันคุด ผ่าตัดฟันคุด เนื่องจากฟันคุดมักจะปรากฏอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ปกติ เช่น บริเวณขากรรไกรหรือบริเวณที่อยู่ใกล้กับเส้นประสาท
ดังนั้น หากมีการถอนฟัน หรือผ่าฟันคุดที่ผิดพลาดจะส่งผลกระทบอาจทำให้เส้นประสาทในบริเวณนั้นได้รับการกระทบกระเทือนจนส่งผลให้เกิดอาการชาหลังทำหรือมีผลต่อการรับความรู้สึกต่าง ๆ ได้
ทีมทันตแพทย์ของสไมล์ ซิกเนเจอร์ ได้รับการรับรองจากสถาบันต่าง ๆ ในความชำนาญฉพาะแต่ละสาขา เพื่อจะให้บริการได้ครบวงจรในทางทันตกรรม ดูรายชื่อทันตแพทย์ประจำ คลินิกทันตกรรม สไมล์ ซิกเนเจอร์ (คลิกที่นี่)
หลังผ่าฟันคุดเจ็บกี่วัน ?
การผ่าฟันคุดไม่ได้เจ็บอย่างที่คิด เพราะในขั้นตอนการผ่าฟันคุด ทันตแพทย์จะฉีดยาชา หลังผ่าตัดเสร็จก็จะล้างทำความสะอาดแผลและเย็บปิดแผล เเต่คนไข้จะมีอาการปวดบ้างหลังยาชาหมดฤทธิ์ คุณหมอจะให้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการกลับไปทานที่บ้าน และแนะนำขั้นตอนการดูแลหลังจากการหายชา กัดผ้าก๊อซแน่น ๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อห้ามเลือด
หลังจากที่ผ่าฟันคุด อาจจะมีอาการปวดและบวมบริเวณแก้มด้านที่ทำการผ่าตัด ประมาณ 3-5 วัน ซึ่งเป็นปกติและจะหายไปได้เองสามารถควบคุมอาการปวดได้โดยยาแก้ปวด รวมถึงการประคบเย็นช่วง 3 วันแรก และประคบอุ่นเพื่อลดอาการบวม ซึ่งปกติแผลผ่าฟันคุดจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป แผลจึงจะหายโดยสมบูรณ์หลังจากผ่าฟันคุด
เคล็ดลับการดูแลรักษาหลังถอนฟันคุด และผ่าฟันคุด
หลังการถอนฟันคุดและผ่าฟันคุด จะแนะนำให้กัดผ้าก๊อสห้ามเลือดเอาไว้ประมาณชั่วโมงกว่า หรือจนกว่ายาชาจะหมดฤทธิ์ หากมีเลือดมีน้ำลาย แนะนำให้กลื่นเลือดจะแข็งตัวเร็ว และเลือดจะหลุดไหล ถ้าปวดระหว่างที่ยังชาอยู่ แนะนำให้ล้างมือให้สะอาดหยิบผ้าก๊อสออกแล้วทานยาแก้ปวด
หลังจากนั้นใช้ผ้าก๊อสสำรองที่ทางเจ้าหน้าให้มากัดต่อจนยาชาหมดฤทธิ์ ทานยาแก้ปวดเฉพาะเวลาปวด ทานยาฆ่าเชื้อตามแพทย์แนะนำ และใช้น้ำยาฆ่าเชื้อในการบ้วนปาก แปรงฟันช่วง 1-2 วัน เว้นบริเวณที่ถอนและผ่าฟันคุดไว้ก่อน งดอาหารรสจัด ร้อนจัด ประคบเย็น 3 วัน ประคบอุ่น 3 วัน เพื่อลดอาการบวม
รู้ยัง?? ฟันคุด เบิกประกันสังคมได้ ไม่ต้องสำรองจ่าย
ฟันคุดเบิกประกันสังคมได้ไหม ??? : ฟันคุดสามารถเบิกประกันสังคมได้ สำหรับการเบิกประกันสังคมโดยไม่ต้องสำรองจ่าย สามารถเช็คสิทธิ์ได้ทันที!!! เพียงแค่ใช้บัตรประชนใบเดียว ประกันสังคมให้เบิกสำหรับการผ่าฟันคุด ขูดอุดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน เบิกค่ารักษาได้ 900 บาทต่อปี …อ่านเพิ่มเติม
จองคิวนัดหมายผ่าฟันคุด ประกันสังคม ก่อนใคร ที่สไมล์ ซิกเนเจอร์ สาขาใกล้บ้านคุณ ที่นี่
คำแนะนำเพิ่มเติม
การถอนฟันคุดหรือผ่าฟันคุดนั้น แนะนำให้เข้าพบแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านผ่าฟันคุด ตรวจประเมินเพื่อวางแผนการถอนฟัน หรือ ผ่าฟันคุด ซึ่งฟันคุดแต่ละเคสจะไม่เหมือนกัน ทันตแพทย์ที่ชำนาญการจะอธิบายให้ทราบได้ว่าซี่ไหนต้องรีบทำ ซี่ไหนรอได้จากการถ่าย X-RAY ภาพการถ่ายเอกซเรย์แผ่นใหญ่จะเห็นความซับซ้อนของตำแหน่งฟันของเราทุกซี่
“เราสร้างรอยยิ้ม เพื่อบ่งบอกความเป็นคุณ”
คลินิกทันตกรรม สไมล์ ซิกเนเจอร์
ติดต่อเรา สไมล์ ซิกเนเจอร์ สำนักงานใหญ่ (รัชดาภิเษก)
คลินิกทันตกรรม สไมล์ ซิกเนเจอร์ รัชดาภิเษก
เลขที่ 257/26, 257/27 โครงการ The Wiz Ratchada
ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพ 10400
(ใกล้กับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีรัชดาภิเษก ทางออกที่ 1)
มือถือ : 083 095 0218
โทรศัพท์ : 02 693 6933, 02 693 7822
Line ID : @smilesignature
คลินิกทันตกรรม สไมล์ ซิกเนเจอร์
ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ